ประวัติและความเป็นมา คาราเต้
สวัสดีค่ะทุกท่าน วันนี้แอดมินก็มีวัฒนธรรมจากทางประเทศญี่ปุ่น เป็นศิลปะการต่อสู้ถือกำเนิดที่โอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ของชาวโอะกินะวะและชาวจีน และได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2464 หรือในช่วง ค.ศ. 1921 เมื่อชาวโอะกินะวะอพยพเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น และยังมักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการต่อสู้ด้วยการฟันอิฐ แต่ที่จริงแล้ว คือการต่อสู้ด้วยการใช้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น กำปั้น เท้า สันมือ นิ้ว ศอก เป็นต้น แต่เมื่อถูกดัดแปลงเป็นกีฬาแล้วเหลือเพียงมือและเท้า
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 โอะกินะวะได้มีการติดต่อการค้ากับทางจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีมานานมากตั้งแต่สมัยอดีต ในขณะนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการความรู้แขนงต่างๆ รวมถึงศิลปะการป้องกันตัว โอะกินะวะได้มีศิลปะการต่อสู้ประจำอยู่แล้ว และได้ผสมผสานกับทักษะที่ได้รับมาจากจีนแผ่นดินใหญ่
ซึ่งก็คือมวยใต้ จนสามารถเรียกได้ว่าญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของกีฬานี้ โดยโอะกินะวะจะเรียกศิลปะป้องกันตัวของตนเองว่า โทเต้ ในภาษาโอะกินะวะ หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียก โอะกินะวะเต้ โดย โอะกินะวะเต้ จะมีวิชาที่สามารถแยกเป็นจุดเด่นของแต่ละสำนัก หลักๆ ได้แก่ 3 สำนักหลัก ซึ่งชื่อสำนักได้ตั้งตามชื่อเมืองใหญ่ที่วิชานั้นๆ อาศัยอยู่ ได้แก่ ชูริเต้ นาฮาเต้ และโทมาริเต้

ความหมายที่แท้จริงของคำว่าคาราเต้ คาราเต้
เดิมทีมาจากการออกเสียงแบบชาวโอะกินะวะ ตัว คารา ในภาษาจีน หมายถึง ประเทศจีน หรือ ราชวงศ์ถัง ส่วน เต้ หมายถึง มือ จึงมีความหมายรวมกันว่า ฝ่ามือจีน หรือ ฝ่ามือราชวงศ์ถัง หรือ กำปั้นจีน หรือ ทักษะการต่อสู้แบบจีน ในรูปแบบการเขียนแบบนี้ ฝ่ามือราชวงศ์ถัง จึงหมายถึง การต่อยมวยแบบถัง หรือ ฝ่ามือจีน ก็บ่งบอกถึงอิทธิพลที่รับมาจากลักษณะการต่อสู้ของชาวจีน ในปีค.ศ. 1933 หลังจากสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 กิชิน ฟุนาโคชิ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะ บิดาแห่งคาราเต้สมัยใหม่ ได้เปลี่ยนตัวอักษร คารา ไปเป็นตัวอักษรที่มีเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายว่า ความว่างเปล่า แทน
จนเมื่อในปีค.ศ. 1936 หนังสือเล่มที่สองของฟุนาโคชิใช้ตัวอักษร คารา ที่มีความหมายว่าความว่างเปล่า และในการชุมนุม บรรดาอาจารย์ชาวโอะกินะวะก็ใช้ตัวอักษรเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมา จึงมีความหมายได้ว่า มือเปล่า หากแปลความหมายรวมจึงแปลได้ว่า วิถีแห่งการใช้มือ ต่อสู้โดยปราศจากอาวุธ เป็นวิธีการดึงพลังจากทั้งร่างมารวมให้เป็นหนึ่งในการต่อสู้โจมตี
ซึ่งความรุนแรงของการโจมตีนั้นมีคำกล่าวถึงว่า อิคเคน ฮิซัทสึ หรือ พิชิตในหมัดเดียว สิ่งที่สำคัญคือการต่อสู้กับตนเอง เช่นการฝึกยั้งแรงการโจมตี โดยใช้ในการหยุดโจมตีเมื่อสัมผัสร่างกายคู่ต่อสู้แม้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บไม่มากและป้องกันการ เมื่อผู้ฝึกสามารถยั้งแรงได้ เขาก็จะเพิ่มความรุนแรง ในการโจมตีได้จนถึงขีดความสามารถเช่นเดียวกัน
ก็เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรม ของทางประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับอิทธิพล มาจากประเทศจีน ที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจมาก ๆ และในปัจจุบันนั้น ก็ยังคงได้รับความนิยม ถึงแม้จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ยังคงมีอยู่ ให้ชนรุ่นหลัง ได้ศึกษากันอย่างน่าสนใจค่ะ
o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o
อ่านเพิ่มเติม ซูโม่ วัฒนธรรมต่อสู้จากประเทศญี่ปุ่น
o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o